วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556



สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากบทความ

เรื่อง พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ลูกน้อยด้วยการเล่นวิทยาศาสตร์


baby-blow.jpg


       กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีความต่อเนื่อง  มีการปรับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตลอดจนมี

ความเข้าใจพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กตามลำดับ  เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้

แสดงออกอย่างอิสระเท่าที่โอกาสและสิ่งแวดล้อมอำนวย  

       การพัฒนาความคิดสร้างสรรคืนั้นจะต้องให้เด็กฝึกคิดแลกเปลี่ยนจากคยอื่น  ฝึกหัดให้เป็นคนช่าง
  
สังเกต  ฝึกตัวเองให้มีความคุ้นเคยกับสิ่งที่แปลกอยู่เป็นประจำ  ให้อิสรภาพและเวลาในการคิด  คิดเชิง

สมมติอยู่เสมอกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างคลุมเครือ  ไม่ยึดติดกับความถูกต้องและความผิดพลาด


สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอโทรทัศน์ครู

เรื่อง ผลไม้แสนสนุก




Mind mapping





สรุปงานวิจัย

เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์

ของ

สำรวย   สุขชัย















การเข้าเรียนครั้งที่ 18


การเรียนการสอน ( เรียนชดเชย )


การทดลอง "น้ำสามสี"

อุปกรณ์

1.ภาชนะใส่น้ำ
2.น้ำผึ้ง
3.น้ำยาล้างจาน
4.น้ำมันพืช

ขั้นสอน

1.วันนี้เด็ก ๆ เห็นอะไรอยู่บนโต๊ะคุณครูบ้างคะ
2.แล้วเด็กเคยเห็นสิ่งของเหล่านี้จากที่ไหนบ้างคะ
3.แล้วเด็ก ๆ คิดว่าสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง
4.คุณครูจะนำน้ำผึ้งใส่ลงในแก้วนะคะ เด็ก ๆ ค่อยสังเกตนะว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5.แล้วถ้าคุณครูนำน้ำยาล้างจานใส่ลงในแก้วที่มีน้ำผึ้ง เด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ เด็ก ๆ คอยสังเกตนะ
6.และคุณครูก็จะใส่น้ำมันพืชในแก้วด้วย เด็ก ๆ คอยสังเกตนะว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นสรุป

สารต่างชนิดมีความหนาแน่นที่ไม่เหมือนกัน  น้ำผึ้งมีความหนาแน่นมากที่สุด  น้ำยาล้างจานมีความ

หนาแน่นน้อยกว่าน้ำผึ้ง  น้ำมันมันพืชมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำยาล้างจาน  ทำให้เกิดการแยกตัวไม่

ผสมกัน  การเรียงตัวเป็นชั้น ๆ จะไล่จากด้านล่างที่มีความหนาแน่นมากที่สุดขึ้นมาด้านด้านบนที่มีความ 

หนาแน่นน้อยกว่า






หมายเหตุ : เมื่อเพื่อน ๆ นำเสนอเสนอการทดลองครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์

และของเข้ามุมวิทยาศาสตร์ตามเลขที่


การเข้าเรียนครั้งที่ 17



การเรียนการสอน


1.อ.จ๋าเข้ามาคุยถึงงานที่ไปศึกษาที่โรงเรียนสาธิตราชภัฏนครราชศรีมา และ โรงเรียนลำปลายพัฒนา

จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ช่วยกันรวบรวมข้อมูลทำแฟ้มส่ง

2.อ.จ๋านัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์และให้นำสื่่อวิทยาศาสตร์มาส่งให้เรียบร้อย คือ ของเล่น ของเข้ามุม

และการทดลองวิทยาศาสตร์  ในวันอาทิตย์เวลา 08.30 น.

3.อ.เบียร์ให้นักศึกษาสรุปองค์ความที่ได้รับจากวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ในรูปแบบที่ดูเข้าใจง่าย









การเข้าเรียนครั้งที่ 16


องค์ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์
ไปแล้ว  เมื่อวันที่  15  กันยายน  2556

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking .. ไข่ตุ๋นแฟนซี

  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรม cooking ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า
  
2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น
      
  -  "เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้มีอะไรอยู่บนโต๊ะคุณครู"
       
-  "เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะทำกิจกรรมอะไร จากอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่ค่ะ"
       
-  " เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ  ไข่ตุ๋นเป็นยังไง "

3.  ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เด็กๆได้ทราบ

4.  ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก  ได้แก่  ผักชี  ต้นหอม และแครอท

5.  เด็กๆลงมือในการทำไข่ตุ๋น  โดยการตีไข่ให้เข้ากัน  ใส่แครอท  ผักชี  ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย
 และใส่ซีอิ้วขาวเพิ่มความอร่อย

6.   นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที   ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึง
การทำไข่ตุ๋นครั้งนี้

7.ไข่ตุ๋นฝีมือเด็กๆเสร็จแล้ว  น่าทานจริงๆเลยค่ะ















ทักษะที่ได้รับ

     1.   ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

การนำไปประยุกต์ใช้

    1.   การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง
    2.   การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน






การเข้าเรียนครั้งที่ 15


การเรียนการสอน

- อาจารย์เเจกกระดาษคนละ 4 เเผ่น สีเมจิก ปากกาเคมี
- อาจารย์ให้เขียน ผังควมคิดเกี่ยวกับการสอนเด็กทำอาหาร และแผ่นสุดท้ายที่เขียนคือแผนการสอนเด้กทำอาหาร
โดยมีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
- ออกมานำเสนอทีละกลุ่ม

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )

- การทำงานเป็นกลุ่มเราต้องช่วยกัน รับฟังความคิดเห็นของกันเเละกัน แบ่งหน้าที่กันทำ
- การวางเเผนงานที่ดีตั้งเเต่เริ่มต้นจะช่วยให้งานเราดำเนินไปอย่างราบรื่น

งานที่ต้องรับผิดชอบ  (Tasks assigned)

- ให้เตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์เพื่อที่จะมาทำไข่ตุ๋น


หมายเหตุ : วันนี้ไม่ได้ไปเรียน  เนื่อจากไปทำธุระที่ต่างจังหวัด  จึงศึกษาเนื่อหากับเพื่อนในกลุ่มมาคะ




วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556



การเข้าเรียนครั้งที่ 14


กิจกรรมการเรียน  การสอน

*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากผู้สอนติดภารกิจทางราชการต่างจังหวัด*

หมายเหตุ

*ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานมาแล้วให้เรียบร้อย*











การเข้าเรียนครั้งที่ 13


การเรียนการสอน

*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจราชการ*

ได้มอบหมายงานไว้ คือ  การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน




การเข้าเรียนครั้งที่ 12


* ศึกษาดูงาน 27-28  สิงหาคม 2556*

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์







การเข้าเรียนครั้งที่ 11


*ไม่มีการเรียน การสอน  เนื่องจากผู้สอนได้มอบหมายให้ทำงาน ดังนี้

1.  ทำการทดลองวิทยาศาสตร์
2.  ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
3.  ทำว่าวใบไม้
4.  ศึกษาหาข้อมูลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเพื่อที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 27-28 สิงหาคม  2556 


ปล.*กิจกรรมทุกชิ้น  ต้องมีภาพถ่ายลงบล็อก*


ว่าวใบไม้



           ทดลองการเล่นวาวใบไม้แล้วคะ  ขึ้นสูง ๆ แค่แปปเดียว  แล้วก็ตกลงมาเหมือนเดิมคะ  แต่ถ้าลมดี ๆ ก็ขึ้นสูงอยู่พัก

ใหญ่แต่ไม่ถึงกับนานมากคะ

ประโยชน์จากการทำว่าวใบไม้

         " ธรรมชาติรอบตัวเขามีประโยชน์ อย่างใบไม้นี้ก็สามารถนำมาทำว่าวเล่นได้ ผมอยากปลูกฝังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ให้กับเด็กๆ ให้เขาเห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว ไม่ต้องไปซื้อหา "

การเข้าเรียนครั้งที่ 10 


การเรียนการสอน



-  นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา   จ.บุรีรัมย์   ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  2556
     
-   ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
     



-   แจกแจงหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน  โดยแห่งแบ่งฝ่ายแต่ละฝ่ายเฉลี่ยรวมให้เท่า ๆ กัน

โดยมีอาจารย์ให้คำแนะนำว่าแต่ละฝ่ายต้องทำหน้าที่อย่างไร และต้องเตรียมอะไรบ้าง


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556



การเข้าเรียนครั้งที่ 9

อาจารย์พบปะกับนักศึกษาไปโคราช ติดประชุม กิจกรรมอ.มิน



การเข้าเรียนครั้งที่ 8



ไม่มีการเรียน  การสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่  1    ปีการศึกษา  2556
















การเข้าเรียนครั้งที่ 7



การเรียนการสอน


อาจารย์เข้าสอน :  09:00 น.    หมายเหตุ  >>  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการอยู่ที่ห้องประชุม

นักศึกษาเข้าเรียน  :  08:25  น.




สรุปจาก  Mind Mapping กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


1.  กระบวนการเบื้องต้น

     -  การวัด                 
     -  การจำแนก         
     -  หาความสัมพันธ์    มิติ + เวลา 
     -  ใช้ภาษาในการสื่อความหมาาย
     -  การคำนวน             
     -  การพยากรณ์       

2.  กระบวนการผสม

     -  ตั้งสมมติฐาน         
     -  ลงมือปฏิบัติ
     -  ควบคุมตัวแปร        
     -  การทดลอง
     -  ตีความ , สรุป

3.  วิธีการจัด

     
1. จัดเป็นทางการ   
          - กำหนดจุดมุ่งหมาย
     
2. จัดไม่เป็นทางการ   เช่น
          - มุมวิทยาศาสตร์
          - สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
      
3.  จัดตามเหตุการณ์
           -  ธรรมชาติ
           -  สิ่งที่พบเห็น

 4.   วิธีการเลือกใช้สื่อ
       
1.  การเลือก
            - เหมาะสมกับหน่วย
            - เหมาะกับพัฒนาการ
            -  เวลาและสถานที่
            -  กิจกรรม
       
2.  เตรียมอุปกรณ์และทดลองใช้


5 ลักษณะของ Project  Approach
    
1.  การอภิปราย
2.  การนำเสนอประสบการณ์เดิม
3.  การทำงานภาคสนาม  
4.  การสืบค้น
5.  การจัดแสดง  





วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



การเข้าเรียนครั้งที่ 6


- อาจารย์งดการเรียน การสอน เนื่องจากติดธุระของคณะศึกษาศาสตร์จึงไม่สามารถเข้าสอนได้

- อาจารย์ได้ฝากงานมาไว้ คือ ให้นักศึกษาทำ Blog ให้เสร็จ  โดยต้องโพสเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์ 

การทดลองวิทยาศาสตร์  ของเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์  ให้ครบ 3 ชิ้น

- อาจารย์จะตรวจภายในวันเสาร์  ถ้านักศึกษายังไม่ได้ดำเนินการจะถูกเช็คขาดในวันที่งดการเรียน  

การสอน  และไม่มีคะแนนในงานของสื่อวิทยาศาสตร์


การทดลอง ชั้นน้ำ 3 สี

เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ แบบง่ายๆ  นำมาให้เด็กๆ เข้าใจว่า ของเหลวแต่ละชนิดที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเมื่อนำมารวมกัน จะไม่ผสมกัน ในการทดลองนี้ เราจะใช้ ของเหลวหลายชนิดด้วยกัน 




อุปกรณ์

1. น้ำผึ้ง

2.. น้ำยาล้างจาน

3.. น้ำมันพืช

4.ภาชนะใส่ของเหลว 

วิธีทำ

1.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม คือ ของเหลวและภาชนะที่จะใส่

2.น้ำผึ้งใส่ภาชนะเพราะเป็นของเหลวที่หนาแน่นที่สุด น้ำยาล้างจาน   น้ำมันพืช



หลักการวิทยาศาสตร์

              สารต่างชนิดมีความหนาแน่นที่ไม่เหมือนกัน  ทำให้เกิดการแยกตัวไม่ผสมกัน  การเรียงตัวเป็น

ชั้น ๆ จะไล่จากด้านล่างที่มีความหนาแน่นมากที่สุดขึ้นมาด้านด้านบนที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า


ของเล่นวิทยาศาตร์ " ป๋องแป๋ง "



อุปกรณ์

1.กระป๋องขนม กระป๋อง               2.เชือก                 3.กระดุม               4.กระดาษห่อของขวัญ
5.ตะเกียบ                              6.กาวสองหน้า                     7.กรรไกร              8.ของตกแต่ง

วิธีทำ

1.ตัดก้นกระป๋องขนมทั้งสองใบออก  แล้วนำมาประกบกันติดกาวให้เรียบร้อย
2.นำกระป๋องขนมที่เตรียมไว้ เจาะรูปด้านข้าง แล้วเสียบตะเกียบลงไป
3.จากนั้น ร้อยเชือกกับกระดุม  ติดกาวห้อยไว้ทั้งสองด้าน
4.ห่อกระดาษและตกแต่งให้สวยงาม




หลักการ

เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น



การเข้าเรียนครั้งที่ 5


- อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

- มีนักศึกษาบางคนนำชิ้นงานมานำเสนอยังไม่ถูกต้อง จึงให้นำเสนอของเล่นชิ้นใหม่  

- อาจารย์ให้นักศึกษาหาการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นตามมุมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มานำ

เสนอในอาทิตย์หน้า

หมายเหตุ : ใครที่นำการทดลอง หรือ ของเล่นมานำเสนอแล้ว ก็ให้เอาส่วนที่เหลือนำเสนอในอาทิตย์

หน้าให้ครบ 3 ชิ้น


   นำเสนอสื่อของเล่นตามมุม " กล้องเรือดำน้ำ "




อุปกรณ์

1.กล่องกระดาษ หรือ ฟิวเจอร์บอร์ด

2.กระจก 2 แผ่น ขนาด 2*2 นิ้ว

3.กระดาษแข็ง

4.กาว / คัชเตอร์




วิธีทำ

1.ตัดกระดาษให้มีความกว้างกว่ากระจกเล็กน้อย  แล้วนำกระจกติดลงบนกระดาษ ทั้ง 2 แผ่น

2.ตัดหน้ากล่องกระดาษออกขนาดเท่ากระจกด้านบนและล่างออกตรงข้ามกัน

3.กรีดข้างกล่องทั้ง 2 ด้าน เป็นมุม 45 องศา ทั้งบนและล่าง

4.นำกระจกมายึดกับกล่องกระดาษโดยหันหน้าออกนอกกล่องทั้งบนและล่างของกล่อง

5.ตกแต่งกล้องเรือดำน้ำให้สวยงาม



หลักการทางวิทยาศาสตร์

        การที่เราสามารถมองเห็นภาพที่อยู่อีกด้านหนึ่งของกล้องได้นั้น  เป็นเพราะแสงสามารถเดินทาง

สะท้อนกระจกแผ่นที่ 1 ที่เป็นมุม 45 องศา แล้วเกิดแสงสะท้อนไปยังกระจกแผ่นที่ 2  ซึ่งจะสะท้อนเป็น

มุม 45 องศาเช่นเดียวกันและไปสู่สายตาของคนมอง  จึงให้คนที่มองอีกด้านหนึ่งสามารถมองเห็นไปอีก

ด้านหนึ่งได้













วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


การเข้าเรียนครั้งที่ 4

การเรียน  การสอน

- อาจารย์ให้นักศึกษาสังเกตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า  "กระบอกลุกปิงปอง"  และช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า             
" กระบอกลูกปิงปองนี้ช่วยให้เด็กรับรู้ในเรื่องใด "

 -  ให้นักศึกษาทำสมุดเล่มเล็ก   โดยการวาดภาพลงไปหน้าละ 1 ภาพ (ต้องเป็นภาพที่ต่อเนื่องกัน) 

-   อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ  และสรุปองค์ความรู้




ตัวอย่าง VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ




มหัศจรรย์ของน้ำ

น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต  และร่างกายของคนเราเมื่อเสียเหงื่อออกมา  เหงื่อนั้นก็คือน้ำ
ที่อยู่ในร่างกายของเรานั่นเอง  น้ำยังช่วยปรับสมดุล  อุณหภูมิในร่างกาย  มนุษย์จึงสามารถขาดน้ำได้เพียง 3 วันเท่านั้น
 
คุณสมบัติของน้ำ

1.  จากของแข็ง  เป็น  ของเหลว
2.  จากของเหลว  เป็น  ของแข็ง
3.  จากก๊าซ     เป็น  ไอน้ำ

การเกิดฝน

ฝน เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆ เมื่อรวมตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน  ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก ไอน้ำจะรวมตัวทำให้เกิด เป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัวหรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝนน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้าอาจเป็นลักษณะของฝน หิมะ หรือลูกเห็บซึ่งเรารวมเรียกว่าน้ำฟ้า ซึ่งมันจะตกลง มาในลักษณะไหนก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นพอฝนตดลงมาถึงพื้น จะมีการไหลของฝนไปรวมตัวกันใต้ดิน ดูดซับไว้ที่ผิวดิน ลงแหล่งน้ำเป็นต้น

แสงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมาที่พื้นโลกจะทำให้ น้ำเหล่านี้ระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ประกอบกับไอน้ำที่ได้จากกิจกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต เช่นการหายใจของพืช ไอน้ำในบรรยากาศนี้จะรวมตัวกันเป็นเมฆ และก่อให้เกิดฝนตามมาอีก เป็นวัฎจักรเช่นนี้เรื่อยไป

ทักษะที่ได้รับ

1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2.  ทักษะการคิด  ทดลอง  และหาข้อเท็จจริง

การนำไปประยุกต์ใช้

1.  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2.  การสรุปองค์ความรู้ในประเด็นหลักๆ และในเวลาที่กำหนด  โดยใช้แผนผังความคิด